วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

M.ed Educational Innovation: นวัตกรรมการสร้างเครือข่าย ทางการศึกษา: โครงการมุ่ง...

M.ed Educational Innovation: นวัตกรรมการสร้างเครือข่าย ทางการศึกษา: โครงการมุ่ง...:         ACPP โครงการมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ เครือข่ายความร่วมมือผู้ประกอบการด้านการศึกษาภาคเอกชน 4 สถาบัน จากจุดเริ่มต้นเมื่อ...

Educational Administration: ข้อแตกต่างเริ่มเห็นมากขึ้น ระหว่าง blogger กับ wo...

Educational Administration:
ข้อแตกต่างเริ่มเห็นมากขึ้น ระหว่าง blogger กับ wo...
: ข้อแตกต่างเริ่มเห็นมากขึ้น ระหว่าง blogger กับ wordpress วันนี้ได้ทำการทดสอบการอินเด็กของเว็บว่าตกลงแล้วอะไรจะอินเด็ก ก่อนก...

M.ed Educational Innovation: ตัวอย่างนวัตกรรมการศึกษา

M.ed Educational Innovation: ตัวอย่างนวัตกรรมการศึกษา: ตัวอย่างนวัตกรรมการศึกษา 1.             E-learning 2.                ห้องเรียนเสมือนจริง 3.                การศึกษาทางไกล  (Distan...

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

ครองตน ครองคน ครองงาน


ครองตน ครองคน ครองงาน เรียบเรียงโดย อุรชา สุจริต
http://eservices.dpt.go.th/eservice_6/ejournal/28/28-06.pdf?journal_edition=28

ศิลปะในการครองใจคน

 ศิลปะในการครองใจคน 
การครองใจคน  เป็นศิลปะที่ละเอียดอ่อนมาก  และเป็นศิลปะเฉพาะตัว   แม้แต่ขงจื๊อ มหาปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกคนหนึ่ง  กล่าวไว้ว่า  เราต้องเข้าไปนั่งอยู่ในหัวใจคนแต่อย่าคิดขึ้นไปนั่งบนหัวคน    เป็นเรื่องไม่ง่ายเลยที่จะทำตามคำกล่าวข้างต้น  เพราะจิตใจของคนเราเป็นเรื่องที่ประเมินค่าได้ยากที่สุด  และไม่สามารถตีค่าออกมาเป็นตัวเลขหรือคิดเป็นเงินได้    การได้มาซึ่งความรัก  มิตรภาพ  ไม่มีวันเสื่อมคลาย  ดังนั้น  การครองจิตใจคนได้จึงเป็นการได้ครอบครองในสิ่งที่ยากที่สุด  และเมื่อเราครองใจคนได้แล้ว  เราสามารถให้กันได้ในทุก ๆ เรื่อง  ดังคำกล่าวที่ว่า   ได้ใจ ได้ทุกสิ่งทุกอย่าง            
 เดล  คาร์เนกี้  บอกว่า  6 วิธีที่จะทำให้คนอื่นรักเรา ( Six ways to make people like you )  ซึ่งเป็นวิธีชนะใจมิตรให้ได้นั้น  ได้แก่ 
1.      จำชื่อให้ได้    กล่าวกันว่า  คำพูดที่ไพเราะที่สุดที่ทุกคนอยากฟัง ก็คือ   ชื่อของตนเอง  เพราะฉะนั้นหากเราสามารถจดจำชื่อและนามสกุลของเขาได้ และถ้ายิ่งจำชื่อเล่นได้ด้วยแล้วยิ่งดีใหญ่  จะทำให้คนที่เราคุยด้วยนั้นรู้สึกดีกับเราและพร้อมที่จะยอมรับไมตรีจากเราค่ะ 
2.      ทักทายเขาก่อน  การเอ่ยทักทายผู้อื่นก่อน  ทั้งที่รู้จักและเพิ่งรู้จักกันก็ตาม  จะแสดงให้เขาเห็นว่าเราเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  ดังนั้น หากพบกันในครั้งต่อ ๆ ไป เขาก็อาจจะเป็นฝ่ายทักทายเราก่อนก็ได้ 
3.      เขาสำคัญสำหรับเราเสมอ  การทำให้ผู้อื่นภูมิใจในความสำคัญของตน  ไม่มีสิ่งใดที่จะดีเท่ากับการยกย่องชมเชย  การให้กำลังใจ  และหลีกเลี่ยงการตำหนิติเตียน  แต่ทั้งนี้จะต้องทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ 
4.      รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเสมอ  การเป็นนักพูดที่ดีนั้นทำได้ยาก  แต่การเป็นนักฟังที่ดีนั้นทำได้ยากยิ่งกว่า  ดังนั้นควรตั้งใจฟังเรื่องที่ผู้อื่นพูด  ไม่พูดแทรก  ไม่ขัดคอ  แล้วเขาจะภูมิใจและเป็นมิตรกับเรา 
5.      ยิ้มแย้มแจ่มใส  อารมณ์ดี  การมีอารมณ์ที่แจ่มใสและยิ้มแย้มอยู่เสมอย่อมทำให้บุคคลอื่นอยากคบหาด้วย  การยิ้มเป็นการทักทายที่ดีที่สุด  ดีกว่าคำพูดหลายเท่า    เพราะการยิ้มเป็นการแสดงให้เห็นว่ามีจิตใจที่สบายและมีความสุข  ในทางตรงข้มหากเรามีใบหน้าที่บึ้งคิ้วขมวดอยู่ตลอดเวลา  ก็คงไม่มีใครอยากเข้ามาพูดคุยด้วย   
6.      ยกย่องชมเชยผู้อื่นทั้งต่อหน้าและลับหลัง  การกล่าวชมเชย  ยกย่องผู้อื่น  เราควรกระทำทั้งต่อหน้าและลับหลัง  อย่าชมเฉพาะต่อหน้าแต่ลับหลังนำผู้อื่นไปนินทา  จะถูกกล่าวหาว่าเป็นคนหน้าไหว้ หลังหลอก  เพราะความลับไม่มีในโลก  หากเราต้องการได้ใจผู้อื่น  ควรจะปฏิบัติติ่เขาทั้งต่อหน้าหรือลับหลังอีกด้วย

ที่มา : http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=travelgirl&jnId=61870  

การครองคน

การครองคน

  หมายถึง การมีความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น สามารถจูงใจให้เกิดการยอมรับและให้ความร่วมมือ โดยพิจารณาจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
1.   ความสามารถในการประสานสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจอันดีกับผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้มาติดต่องาน
1.1         เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ดี
1.2         ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.3         กล้าและรับผิดชอบในสิ่งที่ได้กระทำ
1.4         มีน้ำใจ ช่วยเหลือ และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน
2.   ความสามารถในการร่วมทำงานเป็นกลุ่ม สามารถจูงใจให้เกิดการยอมรับและให้ความช่วยเหลือ
2.1         ให้ความเห็น ปรึกษา และเสนอแนะในงานที่ตนรับผิดชอบ
2.2         การมีส่วนร่วมในงานที่รับผิดชอบ
2.3         ยอมรับและฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน
2.4         มีความสามารถในการคิดและเสนอเหตุผล
2.5         สามารถปฏิบัติงานเต็มที่ตามความรู้ ความสามารถ
2.6         เปิดโอกาสให้ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็น

3.   ให้บริการแก่ผู้มาติดต่องานด้วยความเสมอภาค แนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์
3.1         มีความสำนึกและถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องให้บริการ
3.2         ช่วยเหลือ แนะนำในสิ่งที่ดี ตลอดจนให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์
3.3         ให้การบริการด้วยความเต็มใจ และเสมอภาคกันทุกระดับ
3.4         มีอัธยาศัยดี เป็นกันเอง และสุภาพต่อทุกคน
4.   การเป็นผู้มีความเป็นธรรมทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น
4.1         ประพฤติและปฏิบัติตรงหลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบ วิธีการที่กำหนด
4.2         ถือประโยชน์ของทางราชการหรือส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
4.3         ตัดสิน วินิจฉัย หรือแก้ปัญหา โดยใช้เหตุผล
5.   การเสริมสร้างความสามัคคีและร่วมกิจกรรมของหมู่คณะ ทั้งในและนอกหน่วยงาน
5.1         การให้ความร่วมมือ หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น
5.2         เสนอแนะข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่องาน
5.3         ให้ความสำคัญ ยกย่อง หรือให้เกียรติแก่ผู้ร่วมงาน

วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

Urgently required English Teacher

Urgently required English Teacher (Native speaker)

Maetuenwittaya School, a secondary school in Lamphun urgently require an English teacher (native speaker) who have a teaching certificate to teach English such as TEFL or CELTA, and available to start work on May 1st,2012 
For more information, plaese contact us : Maetuenwittaya School   Maetuen Sub-district   Lee District Lamphun 51110
 tel. 053-509398, 089-2653000 Ms. Yaowanuch

วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

ภาวะผู้นำกับการเป็นผู้บริหารที่ดี



ภาวะผู้นำกับการเป็นผู้บริหารที่ดี 

การบริหารเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคนและงาน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการบริหารงานดังนั้นจึงต้องใช้การปกครองอย่างมีศิลปะ เพื่อให้สามารถครองใจคนและได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพเกิดคุณภาพ ถือว่าเป็นศาสตร์และศิลป์ในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ การดูแล การจูงใจจะต้องนำก่อนทำเป็นตัวอย่างตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นที่ชื่นชมยินดี

ประเภทของผู้นำ
  • ผู้นำแบบเผด็จการ เป็นผู้นำที่มีความเด็ดขาดในตัวเองถือเรื่องระเบียบวินัย กฏเกณฑ์ข้อบังคับเป็นหลัก ในการดำเนินงานการตัดสินใจต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้นำแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ในแง่การบริหารงานทางด้านวิชาการด้านธุรกิจจะเปรียบเสมือนกิจการที่เป็นเจ้าของบุคคลเดียว ที่มีการดำเนินการและตัดสินใจเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการเท่านั้น

  • ผู้นำแบบประชาธิปไตย ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในโลกปัจจุบัน ให้สิทธิ์ในการออกความคิดเห็น สิทธิในการเรียกร้อง รวมไปถึงการเคารพสิทธิของผู้อื่นด้วยการเป็นประชาธิปไตยจึงเป็นลักษณะหนึ่งที่สังคมค่อนข้างจะยอมรับกันมากกว่าผู้นำประเภทอื่น ๆ

  • ผู้นำแบบตามสบาย เป็นผู้นำที่ไปเรื่อย ๆ มีความอ่อนไหวไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นผู้นำที่เป็นที่รักของผู้ร่วมงานอย่างมาก ผู้นำประเภทนี้จึงมีมากมายตามแต่ละกิจกรรมต่าง ๆ บางครั้งอาจมองว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีจุดยืนเป็นของตัวเอง หรือมองโลกในแง่ดีซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาที่ขยันอาจจะไม่ชอบลักษณะผู้นำประเภทนี้


  • ในทางปฏิบัติบางแห่งในตัวผู้นำอาจจะมีรูปแบบของการเป็นผู้นำทั้ง 2 ประเภทในคนเดียว อาจจะมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นออกมาแต่ละประเภท ซึ่งสามารถควบคุมการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลักษณะการใช้อำนาจของผู้นำแตกต่างกันออกไป เพราะในตัวผู้นำแต่ละคนมีอำนาจมีอิทธิพล สามารถดำเนินการหรือสั่งการได้ตามความเหมาะสม


    การใช้อำนาจของผู้บริหารแบ่งได้ดังนี้
    1. การใช้อำนาจเด็ดขาด อาจจะเป็นในวงการทหารหรือตำรวจ จะเห็นได้อย่างเด่นชัดซึ่งจำเป็นจะต้องมีความเด็ดขาดในการสั่งการ เพราะทหาร ตำรวจ จะต้องมีวินัยในการปกครองซึ่งกันและกัน บรรดาตำรวจที่มีอาวุธอยู่ในมือด้วยแล้ว หากขาดวินัยก็จะเสมือนกับกองโจรที่สามารถกระทำผิดได้ตลอดเวลา

    2. การใช้อำนาจอย่างมีศิลปะ ผู้นำโดยทั่วไปเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีความอดทนรวมไปถึงประสบการณ์ในการบังคับบัญชาคน หากการทำงานโดยเอาใจเขามาใส่ใจเราแล้วผลงานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นที่ยอมรับของคนโดยทั่วไป

    3. การใช้อำนาจด้วยวิธีการปรึกษาหารือ เป็นลักษณะของการใช้อำนาจวิธีการหนึ่งซึ่งใช้กันอย่างมากมาย เพราะผู้บริหารที่เปิดใจกว้างย่อมได้รับการยอมรับของผู้ร่วมงานด้วยกัน โดยเฉพาะในเรื่องของการสอนงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในลักษณะการใช้อำนาจด้วยวิธีการปรึกษาหารือ

    4. การใช้อำนาจแบบมีส่วนร่วม บางคนอาจจะบอกว่าการใช้อำนาจแบบมีส่วนร่วมถือเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดเนื่องจากผู้บริหารเปิดใจกว้าง ผลผลิตที่ได้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดแต่จะต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของแต่ละคน ในทางทฤษฎีแล้ว การใช้อำนาจให้เป็นประโยชน์อาจเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมรวมถึงลักษณะของการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมนั้น ๆ


    หน้าที่ของผู้นำแบ่งออกได้ดังนี้
    1. ลักษณะของการควบคุม คนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ใครมาควบคุม แต่ในทางปฏิบัติงานแล้ว การควบคุมอยู่ห่าง ๆ จะได้ผลดีตามมาในลักษณะของการติดตามผลงานอาจจะใช้การควบคุมด้วยระบบเอกสาร ระบบของงานที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันหรือเป็นการควบคุมในระบบด้วยตัวของมันเองอย่างอัตโนมัติ

    2. ลักษณะของการตรวจตรา เป็นหน้าที่โดยตรงของผู้นำหรือผู้บริหารที่จะต้องติดตามความเคลื่อนไหวหรือผลการดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขในเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ทันการ

    3. ลักษณะของการประสานงาน การประสานงานของหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งการประสานงานในเรื่องตำแหน่งหน้าที่การงานถือว่าเป็นความจำเป็นและสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติงาน

    4. ลักษณะของการวินิจฉัยสั่งการ การสั่งการของผู้นำถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะผู้นำที่ดีจะรู้จักการใช้คนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การวินิจฉัยสั่งการที่ดีนั้นจะต้องมีความชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที

    5. ลักษณะของการโน้มน้าวให้ทำงาน ผู้นำมีหน้าที่หลักอย่างหนึ่งคือการชักชวนให้สมาชิกมีความสนใจในการปฏิบัติงานหน้าที่การงานด้วยความตั้งใจ มีความซื่อสัตย์สุจริต และเต็มใจที่จะทำงานนั้น ๆ ให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากที่สุด

    6. ลักษณะของการประเมินผลงาน การพิจารณาความดีความชอบตลอดระยะเวลาการทำงานของพนักงานถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่ง เป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจในการทำงาน การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดีควรกระทำเป็นระยะ ๆ และสามารถแจ้งผลให้ผู้ที่ถูกประเมินได้ทราบเพื่อจะได้แก้ไขในโอกาสต่อไป หากสามารถประเมินผลงานได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมแล้ว ปัญหาด้านการบริหารงานบุคคลย่อมลดน้อยลงไปด้วยเช่นกัน


    คุณสมบัติที่ดีของผู้นำ
    1. มีความรู้ ความสามารถ การใช้สติปัญญานั้น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เมื่อมีสติปัญญาดีก็เกิด

    2. เป็นผู้มีสังคมดี คำว่าสังคมดีคือจะต้องมีลักษณะของการเป็นผู้นำที่มีอารมณ์มั่นคงมีวุฒิภาวะ มีความเชื่อมั่นในตนเองมีความสนใจและใช้กิจกรรมต่าง ๆ อย่างกว้างขวางเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน

    3. เป็นผู้ที่มีแรงกระตุ้นภายใน คือมีจิตสำนึกเกิดขึ้นในตัวของผู้นำ เป็นแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ต่อแรงจูงใจที่จะโน้มน้าวให้ผู้ปฏิบัติงานมีความปรารถนาที่จะทำงานตรงนั้นให้เกิดความสำเร็จ

    4. เป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีผู้นำจะต้องตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของตัวเอง ของลูกน้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน มองโลกในแง่ดีในการที่จะทำให้กิจการต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย


    ลักษณะของผู้นำที่จะทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพสูงสุด
    1. ต้องเป็นนักเผด็จการ หมายถึงผู้บริหารสามารถจะสั่งการได้อย่างเด็ดขาด ผลผลิตที่ได้มาส่วนใหญ่จะมาด้วยปริมาณ ส่วนเรื่องคุณภาพที่จะดีในช่วงแรก ๆ หากผู้นำสามารถสอดส่องดูแลอยู่ตลอดเวลา ผลผลิตก็อาจจะมีทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดีตามไปด้วย

    2. ต้องเป็นนักพัฒนา ผู้นำประเภทนี้จะต้องมีผู้ร่วมงานที่รู้ใจ สามารถสร้างสรรงานใหม่ ๆ ตลอดเวลา

    3. ต้องเป็นนักบริหาร ผู้นำประเภทนี้จะใช้การทำงานด้วยวิธีใหม่ ๆ เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ร่วมแสดงความคิดเห็นแม้กระทั่งในการวางนโยบายต่าง ๆ การทำงานโดยทั่วไปจึงเป็นไปในลักษณะประชาธิปไตย ผู้ร่วมงานจะต้องเป็นผู้มีคุณภาพเพียงพอ สามารถตอบสนองการทำงานในระบบใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี

    4. ต้องเป็นนักเผด็จการอย่างมีศิลปะ ผู้นำประเภทนี้เป็นนักพูดที่เฉลียวฉลาด จะใช้การพูดเป็นการชักชวนให้เกิดการทำงานด้วยความเต็มใจ มีการเสนอแนะและหว่านล้อม ให้เห็นคล้อยตามไปโดยปริยาย

    การบริหารงานในปัจจุบันนี้ผู้บริหารทุกคนจำเป็นต้องใช้ภาวะการเป็นผู้นำเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะจะสามารถได้ใช้หรือพยายามชี้ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือพนักงานออกมาในการปฏิบัติงานให้มากที่สุด พึงระลึกไว้เสมอว่าพนักงานทุกคนมีความสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติงาน เป็นผู้ที่ผลักดันให้งานทุกอย่างของกิจการนั้นสามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น การบริหารงานที่ดีจะต้องมีผู้บริหารที่มีภาวะ ความเป็นผู้นำและเก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งการดำเนินชีวิตไปพร้อม ๆ กัน

    ที่มา : 
    http://women.sanook.com/work/www/www_28334.php